วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2558

สรุปการเรียนการสอน (ครั้งที่4) วันพุธ ที่28 มกราคม 2558

การเขียนรายงานถ้าคืบค้นมาให้ใส่ชื่อผู้เขียน สำนักพิมพ์ ปีที่พิมพ์ งานวัปดาห์หน้า งานGift on the moon ต้องมีชื่อกลุ่ม มูดบอร์ดของตัวเอง สืบค้น ของที่จะขายอย่างน้อยคนละ10ชิ้น การเขียนรายงานสืบค้นมีให้ดูเป็นตัวอย่างในเว็บไซบรรจุภัณฑ์ ตั้งค่าหน้ากระดาษให้ถูกต้อง นำความรู้ทีเราได้ใส่ผสมเข้ากับเนื้อหาเพื่อให้ดูมีสาระมากยิ่งขึ้น การสืบค้นต้องมีชื่อผู้จัดทำ สำนักพิมพ์ นำเนื้อหามาจากหน้าไหน -ถึงหน้าไหน อ้างอิงให้ถูกต้อง

เกี่ยวกับผู้เขียน






ชื่อ :  นางสาวปานรดา วิทยุตสาธิต รหัส 5511310533
กำลังศึกษาอยู่ : มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
เอก : ศิลปกรรมออกแบบประยุกต์ศิลป์ 
คณะ : มนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ 
           ถนนรัชดาภิเษก เขตจตุจักร กทม. 10900

ช่องทางติดต่อ
G-mail : panrada.1602@gmail.com  
Blogger : http://artd3301-panrada.blogspot.com
Facebook : Chaeam Panrada
                    https://www.facebook.com/panrada.witthayutsatit

Tel. 091-4361390

สรุปการเรียนการสอน (ครั้งที่3) วันพุธ ที่21 มกราคม 2558

สรุปการเรียนการสอน (ครั้งที่3) วันพุธ ที่21 มกราคม 2558


หน้าบล็อคเกอร์ต้องมีขนาดที่ถูกต้อง ตกแต่งให้เรียบร้อยให้เข้ากับเนื้อหาจะได้คะแนนเพิ่มขึ้น ชื่อบล็อกต้องตั้งให้ถูกต้อง ต้องมีชื่อผู้ทำโดย.... 
เมื่อสร้างบล็อกแล้วให้เอาไปแชร์ในไดฟ์ 

Visual Analysis

การวิเคราะห์ข้อมูลผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ด้วยวิธีการสังเกตและรับรู้ทางการมอง 

(Product and Package Visual Analysis)

โดย ปานรดา วิทยุตสาธิต
27 มกราคม 2558

ก่อนการดำเนินงานออกแบบผลิตภัณฑ์และการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้แก่สินค้ายี่ห้อ หรือ ผู้ผลิตราย ใดๆนั้น ผู้ออกแบบหรือนักพัฒนาควรต้องมีการวางแผนการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นอย่าง เป็นระบบ ซึ่งโดย ทั่วไปในทางปฏิบัติการทางวิชาชีพของนักออกแบบบรรจุภัณฑ์นั้น อาจจะเป็น การวางแผนและใช้สื่อบันทึก การดำเนินงานเอาไว้อย่างคร่าวๆ ซึ่งอาจเป็นการเขียนแผนผังทาง ความคิด (Mind Mapping) เป็นแผ่นโน๊ตย่อๆ (Note Pad) แสดงหัวข้อไว้บนแผ่นกระดาน (Mood Board) เขียนหรือพิมพ์ไว้ในแผน ปฏิบัติการ ผ่านทางสมุด(Diary)หรือปฏิทินงาน(Calendar) ตามระยะเวลา (Design Plan or Timeline Operation Schedules) หากจัดทำเป็นรายงานสรุปในเชิงวิชาการก็ควรจัดทำให้สมบูรณ์เป็นลำดับขั้นตอนที่ชัดเจน สามารถที่จะตรวจสอบ ติดตาม และสรุปผลออกมาได้จริง เช่น การที่ควรต้องเริ่มต้น ด้วยการวางกรอบแนวคิด หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า การสร้างกรอบการดำเนินงาน (Frame Work  or Over View) เอาไว้ เพื่อเป็นการกำหนดทิศทางภาพกว้างๆ ที่สามารถสื่อให้เห็นแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ
ที่มา : ประชิด ทิณบุตร,2555

Product's Package Visual Analysis : Structure and Graphic Components
การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลส่วนประกอบของสินค้าและบรรจุภัณฑ์ด้วยวิธีการรับรู้ทางการมองเห็น

กรอบแนวคิดในการดำเนินงานออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์/บรรจุภัณฑ์


ภาพที่ 1. ภาพแสดงการวางแผนกรอบแนวคิดของการดำเนินงานอย่างย่อโดยใช้ หลักการ 3 ส.  เพียง 3 ขั้นตอนเพื่อให้เห็นภาพรวมหรือเป็นจุดเริ่มต้น ของการที่จะดำเนินการคิดวางแผนงาน ในภาระกิจต่างๆ ที่จะ เกี่ยวข้องกับการอ้างอิงถึงการศึกษาข้อมูล ความรู้ ทฤษฎี หลักการ วิธีการ และแผนปฏิบัติการในเชิงลึก เฉพาะทางในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในลำดับต่อไป
ที่มา : ประชิด ทิณบุตร,2555


การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการสังเกตและรับรู้ทางการมองเห็นนั้น เป็นวิธีการศึกษา วิเคราะห์- วิจัยข้อมูลเบื้องต้น ที่นักวิจัยด้านการออกแบบสร้างสรรค์ แทบทุกสาขาอาชีพ ในขอบ ข่ายสายงาน ด้านการ ออกแบบทัศนสื่อสาร หรือที่เรียกว่าออกแบบนิเทศศิลป์ (Visual Communication Design) นั้น ต้องใช้ ในการเริ่มต้นทำงานเสมอ โดยวิธีและการสังเกตุ คุณลักษณะรูปลักษณ์ที่ปรากฏภายนอก ของสิ่ง ใดๆนั้นโดยตรง โดยไม่ใช้เครื่องมือ หรือ เครื่องช่วยใดๆมาประกอบ (Observation of the obvious, external features without the aid of an instrument) เป็นการประมวลสรุปในสิ่งที่ได้รับรู้ ได้มองเห็น ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็นการ ตรวจสอบหรือการบ่งชี้ถึงคุณลักษณะของสิ่งที่มองเห็น(Visual Inspection) โดย ใช้ดุลพินิจ หรือองค์ความรู้ที่มีอยู่ในตัวของผู้สังเกต(Observed) ได้รับรู้(Percieved) และแปลความ หมาย (Translated and Transfered) ในสิ่งที่รู้ที่เห็นออกมาได้เช่นใด วิธีการใด หรือด้วยสื่อใดนั่น



วิธีการที่จะตรวจสอบในสิ่งที่ต้องการหาคำตอบให้ได้นั้น นักออกแบบก็ควรต้องอาศัย องค์ความรู้ ต่างๆที่ได้เรียนรู้และมีประสบการณ์มา เพื่อที่จะประมวลสรุปผลออกมาให้ได้อย่างมี หลักการและเหตุผล ให้เป็นที่น่าเชื่อถือ ทั้งนี้เพราะนักออกแบบ มีวิถีและวิธีการทำงาน ที่แตกต่างไปจากแนวทางการทำงา นของศิลปิน ในขอบข่ายทางศิลปะบริสุทธิ์ (Pure Art) นั่น ก็คือการศึกษาวิจัย และค้นหาแนวทาง ที่เป็นไป ได้จริง(Feasibility Study) หรือยึดกฏแห่งการ ใช้งานจริงภายในตัวผลงาน (Physical Fact and Workability or Functionality Study) ให้ได้ ก่อนการยึดมั่นในหลักการทางความสวยความงาม ที่ปรากฏ เห็น เป็นรูปลักษณ์ภายนอก อันเป็น ประเด็นรองตามหลักการของการสร้างสรรค์ผลงาน ประเภท ประยุกต์ศิลป์(Applied Arts) ดังนั้นในกระบวนการทำงานของนักออกแบบ จึงควรต้องแสดง หลักฐาน หรือต้องมีสื่อแสดง ให้เห็นซึ่ง วิธีการคิดวิเคราะห์ วิธีการแก้ปัญหา การใช้องค์ความรู้ต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อแสดง ทักษะการใช้เครืองมือและอุปกรณ์ช่วยการผลิต และเพื่อการนำเสนอผลงาน โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในกระบวนการทำงานนั้น ก็ต้องใช้เพื่อสื่อสารให้ผู้ร่วมงานอื่นๆ (Co-Producer) ได้ร่วม คิดร่วมสร้างความเข้าใจในเบื้องต้น  รวมถึงการสื่อสารไปให้ถึงผู้ใช้งานปลายทาง(End Users) ทั้งหลายนั้น นักออกแบบก็ต้องคิดวางแผน และคำนึงถึงเป็นการล่วงหน้าเอาไว้ด้วยเช่นกัน

ภาพที่ 2.ส่วนประกอบของบรรจุภัณฑ์สินค้าที่มองเห็นของลูกประคบหน้าสมุนไพร
หมายเลข 1 คือ โครงสร้างของบรรจุภัณฑ์ ในที่นี้คือวัสดุที่เป็นถุง PET
หมายเลข 2 คือ ตัวผลิตภัณฑ์
หมายเลข 3 คือ เทคนิคการปิดโครงสร้าง Seal or Encloseure Technic
หมายเลข 4 คือ แผ่นสลากปิดบนตัวโครงสร้างบรรจุภัณฑ์เพื่อการสื่อสาร
หมายเลข 5 คือ ข้อความ-กราฟิกอัตลักษณ์แสดงชื่อยี่ห้อสินค้า ( Logotype)
หมายเลข 6 คือ ข้อมูลแจ้งส่วนประกอบสำคัญของสินค้า
หมายเลข 7 คือ วิธีการใช้สินค้า
หมายเลข 8 คือ ข้อมูลบ่งบอกผู้ผลิต
หมายเลข 9 คือ สัญลักษณ์การรับรองความปลอดภัย-มาตรฐานการผลิต
หมายเลข 10 คือ สัญลักษณ์การรับรอง-มาตรฐานการผลิต
หมายเลข 11 คือ คำโฆษณา- ความดีของสินค้า-คำเชิญชวน
หมายเลข 12 คือ สื่อรูป-ภาพกราฟิก-ประกอบการสื่อความหมายร่วม
หมายเลข 13 คือ ข้อความแจ้งวันที่ผลิต-วันหมดอายุ


การศึกษาสินค้าขู่แข่ง

สินค้าของผู้ประกอบการ



















1.> http://www.otoptoday.com/ecommerce/120907092138



วันอังคารที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2558

สรุปการเรียนการสอน (ครั้งที่2) วันพุธ ที่14 มกราคม 2558


Google คือ แหล่งข้อมูลที่ใหญ่ที่สุดที่มีคนเข้าใช้งานมากที่สุด หนังสือทุกเล่มในGoogleย่อมได้มีการยอมรับมาแล้ว Google มีพื้นที่3 k เพื่อเก็บไฟล์ภาพ Google Clocd Print สามารถสั่งปริ้นที่ไหนก็ได้ทั่วโลก Google doc ใช้เพื่อสร้างเอกสารต่างๆ
การสมัครG-mail พยายามอย่าใช้.เพราะจะเสี่ยงต่อการมองเห็นและติดต่อ

งานครั้งต่อไป
ศึกษาและไปทำเป็นงานกลุ่ม หาความหมายของบรรจุภัณฑ์ อ้างอิงให้ถูกต้อง หนังสือไม่ต่กว่า5เล่ม แล้วสรุปเป็นของตนเอง

วันอังคารที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2558

สรุปการเรียนการสอน (ครั้งที่1) วันพุธ ที่7 มกราคม 2558

ปรัชญาและวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม 

 ปรัชญา
" ความรู้ดี มีคุณธรรม  "นำชุมชนพัฒนา
 วิสัยทัศน์ 
เป็นผู้นำแห่งการเรียนรู้และบริการวิชาการ ที่บูรณาการองค์ความรู้และภูมิปัญญา ด้านภาษา  ศิลปวัฒนธรรม  การบริหารรัฐและชุมชน เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้มีขีดความสามารถทางการแข่งขันระดับนานาชาติ  ด้วยคุณธรรมและจริยธรรม  เพื่อการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน

http://packagingdesigncourse.blogspot.com เว็บบล็อกสนับสนุนการเรียนรู้แบบออนไลน์วิชาการออกแบบบรรจุภัณฑ์ เป็นเว็บที่สามารถเข้ามาศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับรายวิชาการออกแบบบรรจุภัณฑ์

อาจารย์ผู้สอน : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประชิด ทิณบุตร
*(ติดต่อ อาจารย์ผู้สอน ได้ที่ parchid2009@gmail.com )

การเช็คชื่อเข้าชั้นเรียน

เช็คชื่อเข้าสายได้ไม่เกิน9โมง
สาย 2 ครั้ง = ขาด 1 ครั้ง  
ลา   2 ครั้ง = ขาด 1 ครั้ง (ต้องมีใบลา)

*สมัครใช้ G-mail.com ในการทำงานและต้องใช้ชื่อจริงนำหน้าเท่านั้น G-mail ต้องมี Profile เพื่อแสดงตัวตนของเจ้าของG-mail นั้น
*หลักการสร้างบล็อก http://artd3301-ตามด้วยชื่อจริงที่ใช้สมัครG-mail เท่านั้น
*นักศึกษาต้องมีส่วนร่วมในการทำงาน  Gift on the moon ทุกคน
  
3ส : 3R หลักการดำเนินการออกแบบ Design Direction
 1.สืบค้น        ( RESEARCH )  = สืบค้นค้นคว้าสิ่งที่ได้รับมอบหมายให้มากกว่าที่เรารู้ศึกษาสิ่งภายนอก
 2.สมมุติฐาน  ( RESUME )      =  สร้างฐานของผลงานตนเองให้เข้าใจง่ายขึ้น
 3.สรุปผล       ( RESULT )       =  สรุปผลรูปแบบให้ชัดเจนยิ่งขึ้นชัดเจน

*ภาระงาน
-การแปลบทคความสรุปแต่ละอาทิตย์ เริ่มอาทิตย์ที่3นับจากที่มีการเรียนการสอน เขียนรายงานลงบล๊อคและลิงค์ที่ได้มาลงใน Google blog ฟรีเซ้นงานหน้าชั้นเรียนครั้งละ2คน หลังจากอารย์เช็คชื่อ สรุปไม่เกิน7นาที อาจารย์เรียกไม่เกิน3ครั้ง
การแบ่งกลุ่ม
-กลุ่ม 1  มีสมาชิกทั้งหมด 4คน สร้างไฟล์ Google blog 1 ไฟล์ ตั้งชื่อกลุ่มของตนเอง แบ่งหน้าที่ของแต่ละบุคคล ภายในกลุ่มต้องมี หัวหน้า เหรัญญิก เลขา ประชาสัมพันธ์ ทุกคนต้องมีการออกแบบ บรรจุภัณฑ์ ภายใต้การออกแบบแบรนเดียวกัน ออกแบบจริง ขายจริง

สิ่งที่ต้องใช้ในการเรียนรู้อาทิตย์ถัดไป วันพุธ ที่14 มกราคม 2557
-ตัดกระดาษสี ขนาด 8x8 นิ้ว  6 แผ่น
-แฟ้มงานแบบถอดเติมได้